ระบบปฏิบัติการ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปกิบัติการ
           คอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอย่างมากมายหลายรุ่น ตั้งแต่ยุคแรกๆ จนกระทั้งถึงปัจจุบัน ยุคแรกๆ คอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาจากหลอดสูญญากาศ  มีขนาดใหญ่มาก แต่ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ผลิตจากแผงวงจรที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถสูง ขนาดเล็ก พกพาได้สะดวกขึ้นมาก แต่ถึงแม้ว่าตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาไปอย่างมากจนชนิดเทียบกับอดีตเป็นคนละเรื่องกันก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังมีลักษณะเหมือนเดิม
          ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้
    1. ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level) โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก
    2. ระบบปฏิบัติการ  เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. โปรแกรมประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม
      โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
    4. ผู้ใช้  ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น


นิยามเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ ได้มีผู้ให้นิยามไว้ดังนี้
    1. Andrew S. Tanenbaum:
      • An operating system as an extended machine.
      • An operating system as a resource manager.
    2. Milan Milenkovic:
      • An operating system is an organized collection of software extensions of hardware, consisting of control routines for operating a computer and for providing an environment for execution of programs.
    3. H. M. Deitel
      • Operating systems are primarily resource managers; the main resource they manage is computer hardware in the form of processors, storage, input/output devices, communication devices and data. Operating systems perform many functions such as implementing the user interface, sharing hardware among users, allowing users to share data among themselves, preventing users from interfering with one another, scheduling resources among users, facilitating input/output, recovering from errors, accounting for resource usage, facilitating parallel operations, organizing data for secure and rapid access, and handling network communications.
    4. A. Silberschatz , J. Peterson and P. Galvin
      • An operating system is a program that acts as an intermediary between a user of a computer and the computer hardware.
      • An operating system is similar to a government. The components of a computer system are its hardware, software, and data. The operating system provides the means for the proper use of these resources in the operation of the computer system. Like a government, the operating system performs no useful function by itself. It simply provides an environment within which other programs can do useful work.
    5. William S. Davis
      • The operating system is a set of software routines that sits between the application program and hardware. Because the operating system serves as a hardware/software interface (Fig. 1.2 ), application programmers and users rarely communicate directly with the hardware.
    6. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย
      • วิธีการปฏิบัติหรือดำเนินงานที่ซับซ้อนซึ่งได้รับการรวบรวมเป็นแบบแผนเดียวกัน
      • กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องและผู้ใช้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิผลที่ดี
    7. มงคล อัศวโกวิทกรณ์
      • โปรแกรมที่ช่วยจัดการให้การรันโปรแกรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์และควบคุมการทำงานของเครื่อง
      • กลุ่มโปรแกรมงานที่มีความสามารถสูง เช่น ช่วยในการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบ และควบคุมจังหวะการทำงานของโปรแกรมที่กำลังรันอยู่เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดและรวมถึงควบคุม System Software
          จากนิยามพอจะที่สรุปได้ว่าระบบปฏิบัติการคือกลุ่มโปรแกรมที่ได้รับการจัดระเบียบเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ และเสริมการทำงานในส่วนของฮาร์ดแวร์ โดยใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการใช้งานโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิผลที่ดี ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ


          ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส
ระบบปฏิบัติการ Mac OS จำกัดแค่คอมพิวเตอร์ของแอปเปิลเท่านั้นระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows จะมีไวรัสในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน
รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
    CP/M
    CPM-86.png

    A screenshot of CP/M-86.
    บริษัท / ผู้พัฒนาDigital Research, Inc. / Gary Kildall
    เขียนด้วยPL/M
    สถานะHistoric
    รูปแบบ
    รหัสต้นฉบับ
    Originally closed source, now open source[1]
    รุ่นเสถียร3.1
    / 1983
    ภาษาโปรแกรมAssembly language, BASIC, Modula-2, Pascal etc.
    แพลตฟอร์ม
    ที่รองรับ
    Intel 8080, Intel 8085, Zilog Z80, Intel 8086, Motorola 68000
    ชนิดเคอร์เนลMonolithic kernel
    อินเทอร์เฟซ
    พื้นฐาน
    Command line interface
    ลิขสิทธิ์Originally proprietary, now BSD-like
    เว็บไซต์Digital Research official CP/M page


       ซีพีเอ็ม หรือ CP/M (Control Program/Monitor หรือ Control Program/Microcomputers) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งเดิมเขียนเพื่อทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพตระกูล 8080/85 ของอินเทล CP/M เริ่มเขียนโดย แกรี คิลดัล (Gary Kildall) แห่งบริษัท ดิจิทัล รีเสิร์ช (Digital Research, Inc.) เดิมเป็นระบบซิงเกิลทัสก์ และทำงานกับเฉพาะโพรเซสเซอร์ขนาด 8 บิต และหน่วยความจำไม่เกิน 64 กิโลไบต์ แต่รุ่นหลังรองรับการทำงานหลายผู้ใช้และขยายไปทำงานบนโปรเซสเซอร์ซึ่งปัจจุบันนี้ล้าสมัยแล้วหลังจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต
    บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหา
     
    หน้าตาของดอส
          ดอส (DOS; ย่อมากจาก Disk Operating System) เป็นชื่อเรียกระบบปฏิบัติการหลายตัวที่พัฒนาโดยไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ในช่วงปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2538 (โดยถ้ารวมดอสในวินโดวส์ จะนับถึงปี พ.ศ. 2543) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนี้เช่น PC-DOS, MS-DOS, FreeDOS, DR-DOS, Novell-DOS, OpenDOS, PTS-DOS, ROM-DOS เนื่องจากดอสมีผู้ผลิตหลายเจ้า เช่น PC-DOS จากไอบีเอ็ม และ MS-DOS จากไมโครซอฟท์ เป็นต้น และดอสอื่นๆ ระบบปฏิบัติการดอสส่วนมากทำงานภายใต้เครื่องไอบีเอ็มพีซีเสมือน ที่ใช้ซีพียู อินเทล x86


    วินโดวส์ 1.0
    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 1.0
         
                  วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่
    20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วินโดวส์ในช่วงนี้ จึงยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก
    วินโดวส์ 1.0 อยู่ในระยะการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ 2.0


                                     ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2.0

              วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงของวินโดวส์ 2.0 วินโดวส์กับแมคอินทอชมีความใกล้เคียงกันมาก จนเกิดคดีฟ้องร้องกันของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ 2 แห่ง คือ ไมโครซอฟท์ และ แอปเปิล
    วินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ 2.1


    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2.1
                วินโดวส์ 2.1 เปิดตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ยังเป็นสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยดอส วินโดวส์รุ่นนี้มี 2 รุ่นย่อย คือ 286 และ 386 ซึ่งทำงานกับโปรเซสเซอร์ Intel 80286 และ 80386 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
    ใน
    พ.ศ. 2532 ไมโครซอฟท์ได้ออกรุ่นอัปเดตของวินโดวส์ 2.1 คือ วินโดวส์ 2.11 (คล้ายกับระบบ Service Pack ในปัจจุบัน) อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ 3.0

    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 3.0

    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 3.0

                 วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพด, เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล
    วินโดวส์ 3.0 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ 3.1

    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 3.1x
    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 3.11
            
                 วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ
    6 เมษายน พ.ศ. 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
    ในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และ
    โพรโทคอล, เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ
    วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ เอ็นที 3.1


    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.1
            
             วินโดวส์เอ็นที 3.1 เปิดตัวเมื่อ
    27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของวินโดวส์ สามารถทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์นี้ ไม่จำเป็นต้องลงระบบดอสอีกต่อไป เอ็นทีออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยเฉพาะ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ซึ่งวินโดวส์ตัวก่อนหน้าทั้งหมด เป็นสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต โปรแกรม 32 บิต (ซึ่งในขณะนั้นมักเป็นโปรแกรมขั้นสูง) สามารถใช้งานกับวินโดวส์เอ็นทีได้ แต่ไม่สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 ได้ แต่โปรแกรม 16 บิต สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 และเอ็นที ได้ เพราะเอ็นทีจะมีระบบแปลงไฟล์ ให้สามารถใช้งานในเอ็นทีได้
    เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา
    วินโดวส์ เอ็นที 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2543

    วินโดวส์ เอ็นที 3.5

    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.5
             
              วินโดวส์ เอ็นที 3.5 เปิดตัวเมื่อ
    21 กันยายน พ.ศ. 2537 เป็นรุ่นต่อของวินโดวส์เอ็นที 3.1 จุดประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ในการพัฒนาวินโดวส์เอ็นที 3.5 คือ การเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของวินโดวส์ รวมถึงความสามารถอื่นๆ เช่น VFAT ที่จะทำให้สามารถตั้งชื่อไฟล์และต่างๆ ได้ถึง 255 ตัวอักษร และความต้องการขั้นต่ำของระบบได้ลดลงต่ำกว่าเอ็นที 3.1 ด้วย ทำให้สามารถครอบคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม วินโดวส์ เอ็นที 3.5 ไม่สามารถติดตั้งได้ในโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ที่ไม่มีไดรเวอร์สำหรับ PCMCIA อแดปเตอร์การ์ด และไม่สามารถติดตั้งในคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นที่ใหม่กว่า Intel P5 ได้
    วินโดวส์เอ็นที 3.5 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ เอ็นที 3.51


    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.51

            วินโดวส์ เอ็นที 3.51 เปิดตัวเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เอ็นที 3.51 สามารถทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เป็นเพียงวินโดวส์ไม่กี่รุ่นที่สามารถรองรับ RISC ได้ และนอกจากนี้ยังสามารถรองรับไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์, PCMCIA และระบบบีบอัดไฟล์ หรือ NTFS ได้เอ็นที 3.51 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ 95



    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 95

    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 95
                       วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์
    วินโดวส์ 95 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง
    31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

    วินโดวส์ เอ็นที 4.0


                                 ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 4.0

              วินโดวส์ เอ็นที 4.0 เปิดตัวเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยเน้นตลาดเน็ตเวิร์กมากขึ้น โดยจะมี interface คล้ายกับวินโดวส์ 95 แต่ว่าระบบมีความเสถียรมากกว่า โดยการเพิ่ม API (Application Programming Interface) เข้ามาทำให้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ติดต่อกับวินโดวส์ได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน วินโดวส์เอ็นที 4.0 ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับบรรดากลุ่มองค์กรที่ต้องการเครื่อง server ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างในเครื่อง server รุ่นเก่าๆ เอ็นที 4.0 มี 2 รุ่นย่อย คือ รุ่น Workstation อยู่ในการสนับสนุนถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และ รุ่น Server อยู่ในการสนับสนุนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547

    วินโดวส์ 98


                                   ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 98
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 98
                วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อของวินโดวส์ 95 จุดเด่นของวินโดวส์ 98 คือการใช้มาตรฐานไดรเวอร์แบบ WDM และ VxD ซึ่ง WDM เป็นมาตรฐานใหม่ที่วินโดวส์รุ่นต่อๆ มา ได้ใช้เป็นหลัก ส่วน VxD เป็นมาตรฐานเก่า ซึ่งวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 ไม่รองรับ ซึ่งทำให้วินโดวส์ 98 เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสมัยเก่าและใหม่ โปรแกรมสมัยปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินโดวส์ 98 แต่หลายโปรแกรมก็สามารถใช้กับวินโดวส์ 98 ได้พอสมควร วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542
    วินโดวส์ 98 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

    วินโดวส์ 2000

                                     ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 2000
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 2000
                  วินโดวส์ 2000 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.0 เปิดตัวเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นระบบปฏิบัติการเอ็นที มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขั้นสูงและกลุ่มธุรกิจ ในช่วงนี้ได้แบ่งเป็น 5 รุ่นย่อย คือ Professional, Server, Advanced Server, Datacenter Server, Advanced Server 64-bit Limited Edition วินโดวส์ 2000 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

    วินโดวส์ มี

    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ มี
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์มี
                 วินโดวส์ มี (อังกฤษ: Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์
    วินโดวส์ มี อยู่ในการสนับสนุนจนถึง
    11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

    วินโดวส์ เอกซ์พี และ เซิร์ฟเวอร์ 2003

                                       ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เอกซ์พี
                                 ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ เอกซ์พี
               วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน ถูกยุบรวมกับวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack เอกซ์พีรุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2547, เอกซ์พีรุ่นปรับปรุง SP1 และ 1a ยุติการสนับสนุน 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549, รุ่นปรับปรุง SP2 32 บิต ยุติการสนับสนุน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 64 บิต และ SP3 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จะได้รับการสนับสนุนต่อจนถึง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และวินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี ยังไม่มีแผนจะยุติการสนับสนุนอีกด้วยและ การสนับสนุน Windows XP ที่มี Service Pack 2 (SP2) ได้หยุดลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553

    วินโดวส์ วิสตา และ เซิร์ฟเวอร์ 2008

                                    ภาพหน้าจอ วินโดวส์ วิสตา
                           ภาพหน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008
                                ภาพหน้าจอ วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ วิสตา
            วินโดวส์ วิสตา หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดังตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง
    ประเภทความต้องการความต้องการขั้นต่ำของเอกซ์พี (SP3)ความต้องการขั้นต่ำของวิสตา
    หน่วยประมวลผลกลาง (โปรเซสเซอร์)233 MHz800 MHz
    แรม64 MB512 MB
    เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์4.2 GB15 GB
    ไดรฟ์ที่ต้องการCD-ROMDVD-ROM

           เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
    วิสตา รุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ
    13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนวิสตารุ่นปรับปรุง SP1 ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 ยังไม่มีแผนการจะยกเลิกการสนับสนุน (ตรวจสอบโดย กด Start แล้วพิมพ์ที่ช่องว่างด้านล่างซ้ายว่า winver แล้ว Enter)วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ ยังไม่มีแผนการจะยุติการสนับสนุน ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

    วินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2


                                     ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 7
    ไฟล์:Windows Server 2008 R2.jpg
    ภาพหน้าจอวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2
    ดูบทความหลักที่ วินโดวส์ 7
                วินโดวส์ 7 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.1 เปิดตัวการขายปลีกเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุดของไมโครซอฟท์ ส่วน เอ็นที 6.1 อีกรุ่นหนึ่ง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ระดับสูง คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 เปิดตัวในวันเดียวกับวินโดวส์ 7 ในวินโดวส์ 7 ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้วิสตาไม่ประสบความสำเร็จ และมีความต้องการขั้นต่ำไม่ต่างจากวิสตามากนัก นอกจากแรมและการ์ดจอ ที่ต้องการเพิ่ม แต่ที่ผ่านมา จากการเปิดตัววิสตา ได้กรุยทางส่วนหนึ่งไว้ให้ วินโดวส์ 7 เพราะช่องว่างระหว่างการเปิดตัวนั้น ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายได้เพิ่มความสามารถในหลายด้าน คอมพิวเตอร์ในช่วงหลังวิสตา พร้อมจะรองรับวินโดวส์ที่ใหญ่กว่าเอกซ์พีได้ อีกทั้งวินโดวส์ 7 ได้มีการบริหารจัดการดี ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิสตา ปัจจุบัน มีผู้ใช้วินโดวส์ 7 มากกว่าวิสตาเสียอีก
    ไมโครซอฟท์ ยังไม่มีแผนจะยุติการสนับสนุนวินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2

    วินโดวส์ 8

                                       ภาพหน้าจอวินโดวส์ 8
          
          วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้น, วินโดวส์ เอ็กซ์พลอเร่อ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบ้อนแทนแบบเดิม  เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 อยู่ระหว่างการพัฒนา ผู้พัฒนาสามารถดาวน์โหลดวินโดวส์รุ่นนี้ไปเพื่อพัฒนาโปรแกรมก่อนได้ ทางไมโครซอฟท์ยังไม่มีแผนการจัดจำหน่ายวินโดวส์ 8

    วินโดวส์ที่นิยมมากที่สุด

    ในขณะนี้ Windows XP ยังคงมีผู้ใช้มากที่สุด เนื่องจากมีความเสถียร แล้วรวดเร็วที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถภาพไม่สูงนัก

    เส้นทางสายวินโดวส์

    Windows Family Tree.svg

    วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน

    • วินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
      • พ็อคเกตพีซี (Pocket PC) สำหรับ PDA
      • พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
      • สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
      • Portable Media Center สำหรับ Digital Media Players
    • วินโดวส์เอกซ์พี สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุค (เลขรุ่น: NT 5.1.2600)
      • Windows XP Starter Edition สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
      • Windows XP Home Edition สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
      • Windows XP Home Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
      • Windows XP Professional Edition สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
      • Windows XP Professional Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
      • Windows XP Tablet PC Edition สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
      • Windows XP Media Center Edition สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
    • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (เลขรุ่น: NT 5.2.3790)
      • Small Business Server สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
      • Web Edition สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
      • Standard Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์ (สนับสนุน 4 ซีพียู)
      • Enterprise Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
      • Datacenter Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่าเมนเฟรม (สนับสนุน 128 ซีพียู)
      • Storage Server สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
    • Windows XP Embedded สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
    • วินโดวส์ วิสตา (Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ วินโดวส์ ลองฮอร์น (เลขรุ่น: NT 6.0.6002)
      • Windows Vista Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
      • Windows Vista Enterprise ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
      • Windows Vista Business ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
      • Windows Vista Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
      • Windows Vista Home Basic ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
      • Windows Vista Starter มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
    • วินโดวส์ 7 (Windows 7) หรือ วินโดวส์ เซเวน (Windows Seven) (เลขรุ่น: NT 6.1.7600)
      • Windows 7 Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวมทุกๆ ความสามารถไว้ทั้งหมด
      • Windows 7 Enterprise เหมือนรุ่น Ultimate แต่จำหน่ายให้ผู้ใช้ระดับองค์กรเท่านั้น
      • Windows 7 Professional เหมือน Windows Vista Business แต่เพิ่มคุณสมบัติด้านความบันเทิงเข้ามาด้วยเหมือน Windows XP Professional
      • Windows 7 Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
      • Windows 7 Home Basic มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
      • Windows 7 Starter รุ่นนี้ไม่มีขาย แต่ว่าจะติดมากับเน็ตบุ๊ค (Netbook) รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น

    วินโดวส์รุ่นก่อนๆ

    วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก

                            ภาพหน้าจอวินโดวส์แนชวิลล์
     
     
     

                             ภาพหน้าจอวินโดวส์เนปจูน
    • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - วินโดวส์แนชวิลล์ ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95
    • พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - วินโดวส์เนปจูน ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 2000

Linux
Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์
มีหลายคน
ตระกูลแบบยูนิกซ์
สถานะปัจจุบัน/เสถียร
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
โอเพนซอร์ส
วันที่เปิดตัว1996
รุ่นเสถียรKernel: 3.3.2 (13 เมษายน 2012; 51 วันก่อน (2012-04-13))[
รุ่นทดลองKernel: 3.3-rc7
(10 มีนาคม 2012; 28 เดือนก่อน (2012-03-10))
ภาษาสื่อสารMultilingual
ตัวจัดการ
แพกเกจ
dpkg
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
DEC Alpha, ARM, AVR32, Blackfin, ETRAX CRIS, FR-V, H8/300, Hexagon, Itanium, M32R, m68k, Microblaze, MIPS, MN103, OpenRISC, PA-RISC, PowerPC, s390, S+core, SuperH, SPARC, TILE64, Unicore32, x86, Xtensa
ชนิดเคอร์เนลMonolithic
อินเทอร์เฟซ
พื้นฐาน
Many
ลิขสิทธิ์Many("Linux" trademark owned by Linus Torvalds and administered by the Linux Mark Institute)


ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft

ประวัติ
ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนลริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล
ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล
               ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล
        ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaarในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็วโตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

การอ่านออกเสียง


           หน้าจอคอมพิวเตอร์ของลินุกซ์ อูบุนตุ
            ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินุส โตร์วัลดส์ผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /ɪ/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /ʊ/ ซึ่งคล้ายเสียง "อุ" ในภาษาไทย ในอินเทอร์เน็ตมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของโตร์วัลดส์ ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux"[5] เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง
เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร

การใช้งาน

           การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภทลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดียเนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมันระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่งเครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

ส่วนแบ่งการตลาด

         ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำงานระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของลินุกซ์ ฟรี และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน

การติดตั้ง

รายการลินุกซ์ดิสทริบิวชัน (ดิสโทร) ทั้งหมด

                     การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่องการทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป

การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์

           ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่น ๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta


 
ยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX)
          เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy

เนื้อหา



ประวัติ

          ในทศวรรษที่ 60 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) , AT&T Bell Labs และบริษัท General Electric ได้ร่วมมือกันวิจัยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Multics (ย่อมาจาก Multiplexed Information and Computing Service) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานบนเครื่องเมนเฟรมรุ่น GE-645 แต่ภายหลัง AT&T ได้ถอนตัวออกจากโครงการนี้Ken Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาในขณะนั้น ได้เขียนเกมบนเครื่อง GE-645 ชื่อว่าเกม Space Travel และพบปัญหาว่าเกมทำงานได้ช้ากว่าที่ควร เขาจึงย้ายมาเขียนเกมใหม่บนเครื่อง PDP-7 ของบริษัท DEC แทนด้วยภาษาแอสเซมบลี โดยความช่วยเหลือของ Dennis Ritchie ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Thompson หันมาพัฒนาระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PDP-7ระบบปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unix
การพัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปีค.ศ. 1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า roff และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 ค.ศ. 1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซีใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ดังนั้น ยูนิกส์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้เป็นทั้งแบบ Command-line และ GUI ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี
ยูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกในค.ศ. 1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัย ออกในค.ศ. 1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลังในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan 9 ค.ศ. 1982 AT&T นำยูนิกซ์ 7 มาพัฒนาและออกขายในชื่อ Unix System III แต่บริษัทลูกของ AT&T ชื่อว่า Western Electric ยังคงนำยูนิกซ์รุ่นเก่ามาขายอยู่เช่นกัน เพื่อยุติความสับสนทางด้านชื่อ AT&T จึงรวมการพัฒนาทั้งหมดจากบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆใน Unix System V ซึ่งมีโปรแกรมอย่าง vi ที่พัฒนาโดย Berkeley Software Distribution (BSD) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รวมอยู่ด้วย ยูนิกซ์รุ่นนี้สามารถทำงานได้บนเครื่อง VAX ของบริษัท DEC ยูนิกซ์รุ่นที่เป็นการค้าไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดอีกต่อไป ทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ จึงพัฒนายูนิกซ์ของตัวเองต่อเพื่อเป็นทางเลือกกับ System V การพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มการสนับสนุนโพรโทคอลสำหรับเครือข่าย TCP/IP เข้ามาบริษัทอื่นๆ เริ่มพัฒนายูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของตนเอง โดยส่วนมากใช้ยูนิกซ์ที่ซื้อสัญญามาจาก System V แต่บางบริษัทเลือกพัฒนาจาก BSD แทน หนึ่งในทีมพัฒนาของ BSD คือ Bill Joy มีส่วนในการสร้าง SunOS (ปัจจุบันคือ โซลาริส) ของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์
ค.ศ. 1981 ทีมพัฒนา BSD ได้ออกจากมหาวิทยาลัยและก่อตั้งบริษัท Berkeley Software Design, Inc (BSDI) เป็นบริษัทแรกที่นำ BSD มาขายในเชิงการค้า ในภายหลังเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ FreeBSD, OpenBSD และ NetBSD AT&T ยังคงพัฒนาความสามารถต่างๆ เข้าสู่ยูนิกซ์ System V และรวมเอา Xenix (ยูนิกซ์ของบริษัทไมโครซอฟท์) , BSD และ SunOS เข้ามารวมใน System V Release 4 (SVR4) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับลูกค้า ซึ่งเพิ่มราคาขึ้นอีกมาก
หลังจากนั้นไม่นาน AT&T ขายสิทธิ์ในการถือครองยูนิกซ์ให้กับบริษัทโนเวลล์ และโนเวลเองได้สร้างยูนิกซ์ของตัวเองที่ชื่อ UnixWare ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ NetWare เพื่อแข่งกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีของไมโครซอฟท์ค.ศ. 1995 โนเวลขายส่วนต่างๆ ของยูนิกซ์ให้กับบริษัท Santa Cruz Operation (SCO) โดยโนเวลยังถือลิขสิทธิ์ของยูนิกซ์ไว้ ค.ศ. 2000 SCO ขายสิทธิ์ส่วนของตนเองให้กับบริษัท Caldera ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น SCO Group ซึ่งเป็นสาเหตุในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับลินุกซ์

เส้นทางสายยูนิกซ์

Unix history-simple.svg

มาตรฐาน

  • มาตรฐาน POSIX กำหนดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของยูนิกซ์


แมคโอเอส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก Mac OS)
แมคโอเอส (Mac OS)  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์
รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อแมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ในรุ่นแรกๆ ยังไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ
ทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคนอื่นๆ
แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์

แมคโอเอสรุ่นต่างๆ

แรกสุดนั้นแมคโอเอสถูกเรียกว่า ซิสเต็ม (System) และเปลี่ยนมาใช้คำว่า แมคโอเอส ครั้งแรกใน แมคโอเอส 7.5 (ค.ศ. 1996) เนื่องจากเครื่องแมคเลียนแบบที่แพร่หลายในยุคนั้น ทำให้แอปเปิลต้องการแสดงว่าแมคยังเป็นลิขสิทธิ์ของตนอยู่
แมคโอเอสสามารถแบ่งได้เป็นสองยุค คือ
  • Classic นับตั้งแต่แมคโอเอสตัวแรกสุด จนถึงแมคโอเอส 9
  • แมคโอเอสเท็น (Mac OS X) ใช้แกนกลางที่พัฒนามาจากยูนิกซ์ ตระกูลบีเอสดี โดยปัจจุบันนั้นแมคโอเอสเท็นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นใหม่ ที่ได้ใช้หน่วยประมวลระบบสถาปัตยกรรม x86 Intel แล้ว แต่ยังสามารถที่จะใช้งานได้เฉพาะคอมพิวเตอร์จากแมคอินทอชเท่านั้น

แมคโอเอสเท็น

ดูรายละเอียดในหัวข้อ แมคโอเอสเท็น และ Mac OS X v10.5

เทคโนโลยีที่ใช้ในแมคโอเอส



ฟรีบีเอสดี
(อังกฤษ: FreeBSD) คือ ซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน
ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (
uptime เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก[1] สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น